♀-Orun Host Club FanClub-♂
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

บลูริงก์ สวยเพชรฆาตร

2 posters

Go down

บลูริงก์ สวยเพชรฆาตร Empty บลูริงก์ สวยเพชรฆาตร

ตั้งหัวข้อ  AUGUZT Fri Apr 23, 2010 5:05 pm

บลูริงก์ สวยเพชรฆาตร 67943-attachment
เจ้าตัวนั้นคือ "หมึกบลูริงก์" ข้อมูลจากสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดย พลสินธุ์ วิวัฒน์ ให้รายละเอียดว่า หมึกบลูริงก์-Blue Ringed Octopus มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า คนที่ถูกกัดจะตายภายใน 2-3 นาที ทั้งสามารถฆ่าคนได้ 26 คนในคราวเดียว และด้วยความสวยดึงดูดจึงเป็นที่มาของฉายาสวยเพชฌฆาต ที่สำคัญ กรมประมงไม่อนุญาตให้นำเข้าหมึกชนิดนี้

หมึกบลูริงก์อยู่ในตระกูลสาย หรือ octopus พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งในเขตอินโด-แปซิฟิกตะวันตกและออสเตรเลีย มี 2 สปีชีส์ คือ Hapalochaena lunulata. ซึ่งมีความยาวกว่าอีกชนิดหนึ่งประมาณ 20 เซนติเมตร และเจริญเติบโตเร็วกว่า ส่วนในน่านน้ำไทยพบสปีชีส์ Hapalochleana maculosa ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน โดยตามธรรมชาติ บลูริงก์อาศัยอยู่ในเขตน้ำอุ่นบริเวณที่มีหน้าดินทั้งแบบโคลน แบบทราย และตามแนวโขดหิน


บลูริงก์ สวยเพชรฆาตร 67944-attachmentบลูริงก์ สวยเพชรฆาตร 67944-attachment

หมึกบลูริงก์มีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 1 ปี วงจรชีวิตเริ่มต้นจากมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่ว เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเท่าลูกกอล์ฟ เป็นสัตว์ลำตัวนิ่ม มี 8 แขน รอบๆ แขนแต่ละแขนมีรูใช้สำหรับดูดน้ำหรืออากาศตลอดความยาวแขน โดยแขนจะแผ่กระจายเป็นวงกว้างเหมือนหมึกทั่วไป ถ้าแขนขาดหรือหายไปก็งอกใหม่ได้ ในเวลากลางวันบลูริงก์พักอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือเปลือกหอย แล้วจะออกหากินในเวลากลางคืน ชอบเคลื่อนที่ไปตามพื้นหน้าดินเพื่อหาอาหารมากกว่าที่จะว่ายน้ำเช่นหมึกชนิดอื่น

หมึกบลูริงก์ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวตลอดวงจรชีวิต เพศเมียจะวางไข่ติดกันเป็นพวง จำนวน 20-300 ฟอง สำหรับชนิด H. lunulata เพศเมียจะกางหนวดอุ้มไข่ไว้และดูแลไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว ส่วนชนิด H. maculosa. เพศเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ ไข่จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ โดยมีรายงานว่าลูกหมึก H. maculosa. ดำรงชีวิตแบบหน้าดิน ขณะที่ H. lunulata ดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน แต่จากการทดลองเพาะเลี้ยงลูกหมึกที่ใช้พ่อแม่พันธุ์ที่รวบรวมจากบริเวณ จ.ระยอง พบว่าเพศเมียอุ้มไข่ แต่ลูกหมึกมีการดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน จึงเป็นไปได้ว่าในน่านน้ำไทยมีหมึกตระกูลนี้มากกว่า 1 ชนิด หรืออาจเป็นชนิดใหม่ในทางวิชาการ

หมึกบลูริงก์ล่าเหยื่อโดยอาศัยวิธีการพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เมื่อเหยื่อผ่านมามันจะใช้แขนจับ ใช้จะงอยกัด แล้วปล่อยสารพิษในน้ำลายออกมาทำให้เหยื่อนั้นตายในที่สุด แต่หมึกบลูริงก์ไม่ใช่สัตว์ที่ดุร้าย เมื่อโดนกระทบกระทั่งมันจะทำตัวให้แบนและเปลี่ยนสีให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อรู้สึกว่าถูกคุกคาม บลูริงก์จะเปล่งแสงสีฟ้าเรืองออกมาตามลำตัว จากนั้นจะรี่เข้ากัดผู้คุกคามทันที น้ำลายของมันประกอบด้วยพิษที่เรียกว่า tetrodotoxin (TTX) เป็นพิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า

พิษชนิดนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยจะเข้าไปขัดขวางการสั่งงานของสมองที่จะไปยังกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิต คนที่ถูกพิษจะมีอาการคล้ายเป็นอัมพาต หายใจไม่ออกเนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่สามารถนำอากาศเข้าสู่ปอดได้ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต การปฐมพยาบาลต้องหาวิธีนำอากาศเข้าสู่ปอด เช่น เป่าปาก เป็นต้น ระหว่างนั้นนำผู้ที่ได้รับพิษส่งแพทย์ ใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าช่วยชีวิตเป็นผล ผู้ป่วยจะฟื้นเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง เว้นแต่ขาดอากาศนานเกินไปจนสมองตาย

ต้นกำเนิดของพิษในน้ำลายของหมึกบลูริงก์เกิดจากผลผลิตของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในต่อมน้ำลายของมัน แบคทีเรียดังกล่าวประกอบด้วย Bacillus และ Pseudomonas พิษ TTX และแบคทีเรียยังพบได้ในไข่ของปลาหมึก สันนิษฐานว่าเป็นกระบวนการส่งถ่ายความสามารถในการสร้างพิษจากแม่ไปยังลูก พบตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว


credit : www.yenta4.com
AUGUZT
AUGUZT
เจ้าของ Haruhi
เจ้าของ Haruhi

จำนวนข้อความ : 5
Join date : 21/04/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

บลูริงก์ สวยเพชรฆาตร Empty Re: บลูริงก์ สวยเพชรฆาตร

ตั้งหัวข้อ  kamisho Sat Apr 24, 2010 9:10 pm

เคยดูจาก สำรวจโลกอ่ะ

พิษมันน่ากลัว - -lll
kamisho
kamisho
เจ้าของ Hitajiin
เจ้าของ Hitajiin

จำนวนข้อความ : 40
Birthday : 09/09/1993
Join date : 21/04/2010
Age : 30
ที่อยู่ : บ้านฮิตาจิอิง
โฮสที่ชอบ : hitajiin
คำชื่นชม คำชื่นชม : assassino

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ